วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Google Adsense คืออะไร

ขอแนะนำวิธีหาเงิน สร้างรายได้จาก website หรือ blog ที่เรามีอยู่อย่างง่ายๆ เพียงแค่คลิ๊กเท่านั้น ด้วย Google Adsense อาจจะไม่ช้าจนเกินไปที่จะแนะนำเจ้า Adsense ให้เพื่อนๆได้รู้จักว่ามันคืออะไร ทำไมถึงทำเงินให้เราได้ และทำไมถึงฮิตกันจนมีหนังสือออกมามากมาย ทำแล้วรวยจริงเหรอ? วันนี้ผมจะมาเล่าให้เพื่อนๆได้ฟังกันครับ หรือ ชมวีดีโอสอนการหาเงินด้วย Google AdSense หลายๆครั้งที่เพื่อนทำเว็บหรือ Blog ดีๆสักอันขึ้นมา ก็อยากจะหารายได้เข้ามาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าโดเมน ค่า host หรือจะเป็นค่าแรงก็แล้วแต่ ถึงแม้ว่าจะทำด้วยใจรักก็เถอะ แต่แหม ได้ค่าขนมสักหน่อยก็ยังดีนะ ไอ้ครั้นจะให้คนบริจาคเงินให้เรา ก็ยุ่งยากเต็มทน จะทำ ads ให้คนมาซื้อ banner ก็รอกันนาน แถมถ้าเว็บไม่ดังจริงใครจะมาซื้อ คนทำเว็บก็ก้มหน้าก้มตาทำกันด้วยใจรักต่อไป คนอ่านก็อ่านกันต่อไป ที่นี้ละครับ ที่ Adsenes จะเข้ามาช่วยเราได้

หลักการทำงานของ Google Adsense

Google จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างคนลงโฆษณากับเจ้าของเว็บอย่างเราๆ โดยคนที่ลงโฆษณานั้นจะจ่ายเงินลงโฆษณาตาม keywords ที่เขาต้องการ เพื่อดึงคนเข้ามาที่เว็บเขา โดยจ่ายเป็นราคาต่อ 1 คลิ๊ก (เรียกว่า PPCPay Per Click) เช่น จ่ายเงิน $0.05 ทุกๆ 1 คลิ๊ก โดยลงผ่านโปรแกรมที่ชื่อว่า Google Adwords แล้ว Google ก็จะนำโฆษณาของทุกคนมารวมๆกัน แล้วนำไปแสดงบนเว็บหรือ Blog ของเราๆท่านๆ ที่ได้สมัคร Google Adsense แล้วนำ Code มาแปะไว้ที่เว็บ ซึ่งจะเรียงตามราคา bid ของ keywords จากมากไปน้อย โดยเลือกแสดง ads ที่สัมพันธ์กับเว็บเรา เช่น เราทำเว็บเกี่ยวกับ Travel ท่องเที่ยว ก็จะมีโฆษณาเกี่ยวกับ Travel, Hotels ออกมา และเมื่อมีคนคลิ๊ก เจ้าของเว็บคือเรากับ Google ก็จะแบ่งเงินรายได้กัน เช่น $0.05 เมื่อกี้ เราอาจจะได้ $0.03 ซึ่งก็กลายเป็น win-win ทุกฝ่าย

adsense.jpg

สรุป คนลงโฆษณา Adwords จ่าย $0.05 —-> Google (คนกลาง) $0.02 —–> เราที่แสดง Adsense (เจ้าของเว็บ) ได้ $0.03

คนลงโฆษณา Adwords จะได้ 1 คนคลิ๊กที่สนใจโฆษณาของเขา —> อาจจะซื้อสินค้าหรือบริการเขาก็ได้

เราเจ้าของเว็บที่แปะ Adsense ได้เงินเมื่อมีคนคลิ๊กโฆษณา

Google เป็นคนกลาง,ระบบ ได้เงินส่วนแบ่ง

พอจะนีกภาพออกนะรับว่าอยู่ดีๆ เงินที่จ่ายเรามาจากไหนกัน

หน้าตาของ Google Adsense

เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเรา Adsense ก็เลยมีหน้าตา รูปแบบให้เลือกมากมายเลยครับ โดยที่เราสามารถปรับแต่งสีสันเพื่อให้เขากับเว็บของเราได้

page8.gif

เราลองมาดูตัวอย่างของ Adsense บางแบบครับ

336x280.gif

banner.gif

300x250_img.jpg

468x15_4.gif

มีตัวอย่างอีกเยอะเลยที่ Google Adsense Format Sample

เพื่อนๆคนจะได้รู้จักกับ Google Adsense ขึ้นกันอีกนิดแล้วนะครับ เดี๋ยวครั้งหน้า ผมจะมาต่อกับคำถามที่ว่าทำแล้วรวยจริงเหรอ? รวยนี่ขนาดไหนที่เรียกว่ารวย? เดือนละหลักหมื่น หลักแสน?

ชมวีดีโอสอนการหาเงินด้วย Google AdSense คลิกที่นี่


Click here to get SuccessAdSense

เครดิต : http://www.basicstep.net/what-is-google-adsense/

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เราจะค้นหาตัวเองเจออย่างไร?

บางคนถามคำถามนี้กับตัวเองหลายครั้ง แต่คำตอบยังไม่พบ จึงต้องถามตัวเองต่อไปผมเคยตอบคำถามประเภทนี้แก่รุ่นน้องไปว่า

“ออกเดินทางสิ ไม่ก็นั่งรถเมล์ไปสุดสายแล้วนั่งกลับมา เผื่อจะคิดอะไรออก”

รุ่นน้องเอ่ย “บางทีมันติดอยู่ที่จมูก”

ผมพยักหน้า

“อาจเป็นสิ่งที่เราชอบ เราถนัดสนใจ เราจึงมีแรงแสวงหาและทำมัน”

รุ่นน้องทำหน้านิ่วคิ้วขมวด เขาเคยมาปรึกษาวิชาเลขกับอังกฤษ แรกๆ ขยันตั้งใจเรียน แต่ตอนนี้มีสิ่งดึงดูดความสนใจออกไปคือ ความรัก และต่อมาคือ โอกาสที่เขาจะได้เป็นดีเจรายการในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง  ต้นตอของคำถามข้างต้นมาจาก คนในบริษัทที่จัดรายการ เสนอแนะว่า “น้องมีตัวตนแบบไหน ก็จัดรายการไปแบบนั้น”

รุ่นน้องจึงดั้นด้นมาถามผมก่อนบ่าย

“พี่ครับ พี่หาตัวตนของตัวเองเองเจออย่างไร”

“ถ้าพี่จะจัดรายการ พี่จะนำเสนอเนื้อหาอะไรบ้าง”

“แต่ละคนมีตัวตนแตกต่างกัน ถ้าหาให้เจอว่าเราสนใจหรือถนัดอะไร นั่นอาจเป็นตัวตนของเรา บางทีเราหาไม่เจอ คนรอบข้างต้องคอยบอก”

รุ่นน้อง “ใช่”

“ลองดูรูปแบบรายการทั่วไปสิ เขามีแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ มีแนะนำหนังสือดี มีรายงานข่าวที่น่าสนใจ มีตั้งหลายรายการหลายรูปแบบ”

“คือผมอยากหาสไตล์ของผมที่ไม่ซ้ำแบบใคร ผมอยากหาตัวตนให้เจอว่าคืออะไร”

“ต้องมองย้อนกลับข้างในตัวเอง”    รุ่นน้องครุ่นคิด

“บางครั้งการไปเห็นการดำเนินชีวิตที่แตกต่าง ทำให้มองเห็นคุณค่าที่เรามี มองเห็นสิ่งที่ดีที่น่าส่งเสริม”

“เดี๋ยวผมจะลองนั่งรถเมล์สุดสายดู”

“หรือจะไปเดินเล่นที่โล่งบริเวณสระน้ำก็ได้” ผมยกตัวอย่างเพิ่ม “มีรุ่นน้องอีกคนหนึ่ง ตอนนี้กำลังค้นหาตัวเองแต่ไม่เจอ เปลี่ยนไปเรียนหลายที่ ไม่ชอบเรียนเทคนิค หันมาเรียนบริหาร ก็ไม่รู้ว่าตัวเองชอบโรงแรมหรือคอมพิวเตอร์มากกว่ากัน

แล้วผมยกตัวอย่างคนใกล้ตัวให้รุ่นน้องฟังว่า “มีเพื่อนพี่คนหนึ่ง เขาไม่รู้ว่าตัวเองสอนหนังสือได้ แต่เขาชอบเขียนหนังสือ ตอนที่มารู้ตัวคือเพื่อนบอกว่าบุคลิกเขาเหมาะกับการเป็นครูมากกว่า เพราะใจเย็น ชอบเด็ก อีกทั้งมีความรู้อยู่ในตัวเพราะเป็นคนชอบอ่านหนังสือเยอะ”

“เขาเลยไปสมัครสอนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชาใกล้บ้าน จากนั้นมาติดใจเป็นครูสอนพิเศษจนถึงวันนี้”

รุ่นน้องตั้งใจฟัง “คือการสอนกับการเขียนมันคล้ายๆ กัน”

“ใช่ คือการถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองรู้ออกไปยังคนรอบข้าง ถ้าคุณสามารถกลั่นกรองเรียบเรียง หรือย่อยความคิดเป็นของตัว เท่ากับสามารถนำสิ่งนั้นมาเผยแพร่ให้คนอื่นได้”

รุ่นน้องพยักหน้า การค้นหาตัวเองฟังดูเป็นอะไรที่คลุมเครือเหมือนกัน เพราะคำตอบจากคนนอก ไม่เท่ากับคนผู้แสวงหาคำตอบด้วยตนเอง ฉะนั้นจึงไม่สามารถฟันธงคำตอบอะไรให้แน่ชัดได้

การที่จะเจอตัวตน อาจเปรียบได้กับต้องลองเปิดค้นลิ้นชักชีวิตของตนดูว่า ข้างในมันมีส่วนผสมที่ดีอะไรบ้าง หรือมีอะไรที่น่าสนใจที่พร้อมรอการสืบสานพัฒนาต่อไป ไม่มีใครตอบแทนกันได้ ทุกคนมีสิทธิ์ทดลองทำสิ่งต่างๆ เพื่อจะเรียนรู้ว่าเป็นตัวตนที่แท้หรือไม่

ฉะนั้นเมื่อมีโอกาสเข้ามา อย่ารอช้า หรือคิดมากจนเกินควรจนไม่กล้าทำอะไร หรือทำได้ไม่เต็มที่ บางครั้งการวิ่งวนไปหาคำตอบของตัวตน อาจไม่สำคัญเท่ากับมีสติพร้อมรับมือกับสิ่งดีที่เข้ามาในชีวิต เพราะนั่นหมายถึงจิตใจที่มีสมาธิ พร้อมทุ่มเทพละกำลังและฝีมือกับสิ่งที่ทำตรงหน้า เมื่อนั้นไม่ต้องคาดหวังผลตามมา แล้วเราจะรู้คำตอบเองว่าตัวตนของเรามีขอบเขตกว้างขวางเพียงใด

เครดิต : หมอเสริม

การออกแบบเว็บไซต์ สำหรับ SEO

การออกแบบเว็บไซต์ สำหรับ SEO

ก่อนจะลงมือทำ SEO ด้วยเทคนิควิธีอื่น ๆ สิ่งแรกที่ไม่ควรมองข้าม คือ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ภายในเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นก่อน ในบทความนี้เราจะเรียนรู้บางสิ่งที่เคยมองข้าม แต่สำคัญกับการทำ SEO ครับ

การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี (Design and Content Guidelines) ควรมีลักษณะดังนี้

1. ควรออกแบบเว็บไซต์ให้มี Navigation สำหรับเชื่อมโยงทั่วถึงกันแต่ละหน้า เพื่อให้ Robot ของ Search Engine สามารถ Crawl ได้อย่างทั่วถึง
2. ควรจัดทำ Sitemap ของเว็บไซต์
3. ควรใช้ Header Tags สำหรับหัวข้อที่สำคัญ
4. ควรจัดทำเนื้อหาที่ชัดเจน มีการเน้นจุดต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลสำคัญ ด้วยการใช้ตัวอักษรตัวหนา (Bold) ตัวเอียง (Italic) หรือขีดเส้นใต้ (Underline) ตามความเหมาะสม
5. ควรใช้ Title Tags สำหรับ Hyperlinks และ Alt Tags สำหรับรูปภาพ
6. ควรควบคุมปริมาณการเชื่อมโยง (Hyperlinks) ไม่ควรเกิน 100 Links ต่อหนึ่งหน้า
7. ควรควบคุมขนาดการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ (ทั้ง Text และ Images และ Multimedia ทั้งหมด) ให้มีขนาดที่เหมาะสม

ศัพท์น่ารู้
- Navigation คือ หัวข้อ หรือ เมนู หรือ รายการต่าง ๆ ที่เป็นหน้าหลัก ๆ ของเว็บไซต์
- Crawl คือ การเดินทางของ Robot ซึ่งจะเดินทางไปตามการเชื่อมโยงต่าง ๆ
- Sitemap คือ แผนผังของเว็บไซต์ (คล้าย ๆ กับการทำ สารบัญ)
- Header Tags คือ Tags ที่ใช้กำหนดหัวเรื่อง หรือหัวข้อ เช่น <h1>…</h1>
- Alt Tags หรือ Alternative Tags คือ Tags ที่ใช้แสดงข้อความเมื่อไม่สามารถแสดงรูปภาพได้ เป็น Attribute ภายใต้ Tags <img src=”…” alt=”…” />

วิธีทำให้ Blog ถูกค้นพบง่ายๆ ใน Blogger

 

  • ไม่ได้เข้ามาอัพบล็อกเสียนาน (เกือบเดือนได้) เข้ามาอีกที โอว! Blogspot เปลี่ยนหน้าตาใหม่อีกแล้ว ดูน่าใช้และเป็นมิตรกับผู้ใช้ยิ่งขึ้น  ไม่ใช่ว่าแต่ก่อนไม่น่าใช้นะครับ เพียงแต่ดูเหมือนจะใช้ง่ายขึ้น สดใสขึ้นหนะเอง

    เข้าเรื่องหละกันนะครับ วันนี้มีของมาฝาก หลังจากไม่ได้คุยเรื่อง Blog ซะนาน เป็นทิปเล็กๆ เกี่ยวกับการทำให้ Blog ของเราถูกค้นพบได้ง่ายๆ จากที่เหล่านี้ เช่น หน้าแรก Blogger, Google Blog Search และปิงบล็อกอย่าง Weblogs.com ด้วยวิธีการง่าย ดังนี้..

    1. ลงชื่อเข้าใช้ (Login) เข้ามาในบัญชี Blogger ของเรา
    2. ในหน้า แผงควบคุม คลิกที่ลิงค์เมนู การตั้งค่า จะเข้าสู่หน้า การตั้งค่าพื้นฐาน ->หัวข้อ ขั้นต้น
    3. ในรายการ เพิ่มบล็อกของคุณในรายการของเราหรือไม่ ให้เลือก [ใช่]
      เพื่อให้ รายชื่อ Blog ของเราไปปรากฏที่หน้าแรกของ Blogger ตรง Blogger Play
      image และ
      Next Blog
      image ถ้าเราเลือก [ไม่] บล็อกของเราจะไม่ปรากฏในที่เหล่านี้ แต่ว่ายังสามารถใช้ได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต คือ พิมพ์ Url ในเบราว์เซอร์ หรือคลิกจากลิงค์ แต่ชื่อบล็อกนี้จะยังคงปรากฏในข้อมูลส่วนตัว(Profile)ของเรา นอกจากเราจะซ่อนมันไว้ (ไม่ให้แสดง)
    4. ในรายการ อนุญาตให้เครื่องมือค้นหาพบบล็อกของคุณหรือไม่
      ให้เลือก [ใช่] ซึ่ง Blogger จะรวมบล็อกของเราไว้ในลิสต์ของ Google Blog Search และปิง Weblogs.com ถ้าเราเลือก [ไม่] คนอ่านจะยังสามารถดูบล็อกของเราได้ ผ่านทางเบราว์เซอร์ หรือคลิกจากลิงค์ ..แต่เครื่องมือค้นหา (Search Engine) จะได้รับคำสั่งไม่ให้รวบรวมข้อมูล (Index) บล็อกของเรา ..Blog ของเราก็จะไม่ถูกค้นพบจาก Google Blog Search นะครับ
    5. เสร็จแล้ว คลิก บันทึกการตั้งค่า
    6. เป็นอันเรียบร้อย

    ปล. นอกจากวิธีทำเสียว (Seo) ยากๆ แล้ว วิธีการง่ายๆ เบื้องต้นๆ อย่างนี้คงพอช่วยให้ บล็อกของเราถูกค้นพบได้ง่ายขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง ดีกว่าหาเท่าไหร่ก็ยังไม่เจอ ไม่รู้จมอยู่ที่ส่วนใดของกล่องทราย ..ลองทำดูนะครับ

    เครดิต : Npatsa

  •